เมนู

สรณทุกสอุตตรทุกนสรณทุกนสอุตตรทุกะ


(100. สรณทุกะ 99. สอุตตรทุกะ)


ปัจจยวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


สอุตตรบท


[1172] 1. ธรรมที่ไม่ใช่สอุตตรธรรม ที่ไม่ใช่สรณธรรม
อาศัยสอุตตรธรรม ที่เป็นอรณธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย


ปฏิจจวาระ


อนุโลมนัย


1.เหตุปัจจัย


อนุตตรบท


1. ธรรมที่ไม่ใช่อนุตตรธรรม ที่ไม่ใช่สรณธรรม
อาศัยอนุตตรธรรม ที่เป็นอรณธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

สหชาตวาระก็ดี ฯลฯ ปัญหาวาระก็ดี พึงให้พิสดาร.
อนุโลมปัจจนียทุกทุกปัฏฐาน จบ

อรรถกถาอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน


บัดนี้ เพื่อจะแสดงปัฏฐานที่ชื่อว่า อนุโลมปัจจนียะ เพราะเป็นทั้ง
อนุโลมและปัจจนียะแห่งธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจการไม่ปฏิเสธปัจจัยธรรม
ในธรรมทั้งหลาย มีกุศลเป็นต้น (แต่) ปฏิเสธความเป็นกุศลเป็นต้น แห่ง
ปัจจยุปบันธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ
นกุสโล ธมฺโม อุปฺปชฺชติ เหตุปจฺจยา
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตความที่กุศลเป็น
ปัจจัย ด้วยคำว่า กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ ทรงห้ามความเกิดขึ้นแห่งกุศลด้วย
คำว่า นกุสโล ธมฺโม อุปฺปชฺชติ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดง
วิสัชนาไว้โดยนัยเป็นต้นว่า รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยกุศลขันธ์เกิดขึ้น
วิสัชนานั้นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงตรวจดูบาลีแล้วกำหนดดูให้ดี ก็วิสัชนาใด
เหมือนกับปัจจัยใด มีได้ในปัจจัยใด และวิสัชนาเหล่าใด มีการกำหนดวิธี
นับในปัจจัยเหล่าใด ทั้งหมดนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วในบาลี.
เพราะฉะนั้นในอธิการนี้จึงมีเนื้อความอยู่ในบาลีนั่นเอง. ก็ในอธิการนี้ฉันใด
แม้ในทุกปัฏฐานเป็นต้นก็ฉันนั้น
นัย 6 ในธัมมานุโลมปัจจนียปัฏฐาน อันท่านแสดงไว้ด้วยคาถา
ที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า